กระเบื้องยางคืออะไร? ลองทำความเข้าใจก่อนเลือกซื้อมาใช้งาน

November 6, 2021

เมื่อพูดถึงการปูกระเบื้องแบบง่าย ๆ หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงกระเบื้องยาง เพราะเป็นวัสดุปูพื้นที่สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งยังมีหน้าตาที่สวยงามเลียนแบบวัสดุธรรมชาติได้ เป็นหนึ่งวัสดุที่แนะนำในการเลือกกระเบื้องปูพื้น ในปัจจุบันกระเบื้องยาง มีหลายรูปแบบหลายประเภท ซึ่งก่อนจะนำมาใช้ ควรจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับกระเบื้องยางก่อน ใครที่ยังไม่รู้ว่า กระเบื้องยางคืออะไร วิธีเลือกกระเบื้องยางทำอย่างไร วันนี้ A-Decor มีคำตอบให้ครับ

กระเบื้องยางคืออะไร

กระเบื้องยาง คือ วัสดุปูพื้นที่ผลิตจาก PVC (Poly Vinyl Chloride) เป็นโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการปูพื้นโดยเฉพาะ  คุณสมบัติโดดเด่นของ กระเบื้องยาง คือ มีความยืดหยุ่นสูง เนื้อวัสดุมีความเหนียว สามารถรองรับแรงกดทับหรือแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้กระเบื้องยางยังสามารถลดอุบัติเหตุจากการลื่นได้อีกด้วย เนื่องจากพื้นผิวจะมีความหนืด ทำให้ยึดเกาะได้ดี อีกทั้งยังทนต่อความชื้น ทนน้ำ ทำความสะอาดง่าย และทนต่อรอยขีดข่วนได้

จุดเด่นอีกข้อหนึ่งของกระเบื้องยาง คือ มีสีสันและลวดลายให้เลือกมากมาย ทั้งกระเบื้องสีเรียบ สีพื้น สีแฟนตาซี ลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ลายหิน ลายไม้ เป็นต้น มีขนาดให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ กระเบื้องลายไม้  โดยที่นิยมใช้จะมีขนาด 30x30 cm.,  60x60 cm., 15x60 cm., 15x90 cm.  ซึ่งความหนาก็มีตั้งแต่ 2-12 มม.

ประเภทของกระเบื้องยาง

เมื่อได้รู้ว่ากระเบื้องยางคืออะไรไปแล้ว มาดูประเภทของกระเบื้องยางกันต่อครับ โดยกระเบื้องยางจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กระเบื้องยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติและผลิตจากโพลิเมอร์

  • กระเบื้องยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติ  เป็นกระเบื้องยางที่ทำจากยางพารา จะมีความเหนียวและความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อการใช้งาน ไม่เกิดการฉีกขาดได้ง่าย  อายุการใช้งานอาจยาวนานมากกว่า 10 ปี
  • กระเบื้องยางที่ผลิตจากโพลิเมอร์ เป็นกระเบื้องยางที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ ประกอบด้วยพอลิเมอร์ 2 ชนิด นั่นก็คือ โพลียูรีเทนและพีวีซี ถ้าเป็นกระเบื้องยางเกรดดี จะมี โพลียูรีเทนมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติดีกว่าพีวีซี จะมีความเหนียว ทนทานต่อการฉีกขาดได้มากกว่า แต่ถ้าหากโดนความร้อนมาก ๆ จะกรอบและเปราะง่ายเหมือนพีวีซี

คุณสมบัติของกระเบื้องยาง

ปัจจุบัน กระเบื้องยาง เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะนอกจากจะติดตั้งง่ายแล้ว ยังมีคุณสมบัติโดดเด่นมากมาย ซึ่งก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อ ก็ควรจะรู้คุณสมบัติหรือข้อดีของกระเบื้องยางกันก่อนครับ ว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ โดยคุณสมบัติเด่น ๆ ของกระเบื้องยาง คือ

  • ทนทานต่อรอยขีดข่วน - กระเบื้องยางมีวัสดุที่ช่วยให้มีความทนทาน ทั้งทนต่อรอยขีดข่วนและแรงกระแทก ช่วยให้สัมผัสสบายเท้า สบายตา ไม่มีร่องรอยกวนใจ และใช้งานได้นาน
  • ทนต่อแรงกระแทก - กระเบื้องยางมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อมีการกระแทกเกิดขึ้น พื้นจะไม่แตกตัว ทำให้ทนต่อแรงกระแทกได้ดี และทนต่อการวางของหนัก ๆ ได้อีกด้วย 
  • เก็บเสียงได้ดี - กระเบื้องยางช่วยซับเสียงการเดินได้ดี อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเสียงกลวง ๆ ของกระเบื้องเหมือนกับกระเบื้องแผ่นที่ปูได้ไม่ได้มาตรฐาน ช่วยลดเสียงรบกวนภายในบ้านได้
  • มีลวดลายให้เลือกมากมาย ประหยัดค่าใช้จ่าย - กระเบื้องยางสามารถทำลวดลายได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะลายไม้ ที่มีความเหมือนมาก ๆ ช่วยให้สามารถประหยัดงบจากไม้จริงเป็นใช้กระเบื้องยางทดแทนได้
  • ทำความสะอาดง่าย - กระเบื้องยางมีคุณสมบัติทนน้ำ ทนความชื้น และพื้นผิวทำความสะอาดได้ง่าย ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการพองเหมือนไม้จริง ช่วยให้ดูแลง่าย ไม่ต้องกังวลมากนัก
กระเบื้องยางคืออะไร

ส่วนประกอบของกระเบื้องยาง

จะเห็นว่ากระเบื้องยาง คือ กระเบื้องที่มีคุณสมบัติทั้งทนทาน กันชื้นได้ที มีแรงหนืดแถมทำความสะอาดง่าย นั่นเป็นเพราะกระเบื้องยางประกอบไปด้วยโครงสร้างหลายชั้น ที่มีคุณสมบัติต่างกันไป ลองมาดูโครงสร้างของกระเบื้องยางกันครับ กระเบื้องยางจะมีโครงสร้างทั้งหมด 5 ชั้นด้วยกัน

ชั้นที่ 1 UV Coating ป้องกันน้ำและยูวี - เป็นส่วนชั้นบนสุดของกระเบื้องยาง คือ ส่วนที่เคลือบกระเบื้องยางด้วยโพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane หรือ PU) ช่วยกันน้ำและป้องกัน UV หรือแสงแดด ไม่ให้สีซีดเร็ว ให้กระเบื้องยางยังดูสดใหม่อยู่เสมอ

ชั้นที่  2 Wear Layer ชั้นกันสึก - ชั้นต่อมาของกระเบื้องยาง คือ แผ่น โพลีเมอร์ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการขีดข่วนการฉีกขาดของพื้นผิว หรือได้รับความเสียหายจากการใช้งาน

ชั้นที่  3 Print Layer ชั้นฟิล์มลาย - เป็นชั้นที่แสดงลวดลายและสีของกระเบื้องยาง ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การพิมพ์ลายมีความคมชัด สวยงาม เสมือนจริงมากขึ้น มีหลายลายให้เลือก เช่น ลายไม้ ลายหินอ่อน ลายพรม เป็นต้น

ชั้นที่ 4 Middle Layer ชั้นกลางหรือชั้นไวนิล - เป็นส่วนที่ทำจาก PVC เป็นชั้นที่กำหนดความหนาของกระเบื้องยางและเป็นชั้นที่ช่วยให้ขนาดคงที่ ลดการยืดหด มีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทก เพิ่มความทนทานให้กับกระเบื้องยาง

ชั้นที่ 5 Base Layer ชั้นฐาน - เป็นชั้นล่างสุดของกระเบื้องยาง มีคุณสมบัติลดการยืดหด มีประสิทธิภาพการยึดเกาะระหว่างกระเบื้องยางกับพื้นผิว ทำให้ไม่หลุดร่อนง่าย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกระเบื้องยาง

ก่อนจะตัดสินใจซื้อกระเบื้องยาง ควรคำนึงถึง วัตถุประสงค์การใช้งาน ลักษณะการใช้งาน เพื่อเลือกกระเบื้องยางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก่อนจะตัดสินใจมีข้อควรรู้ที่เกี่ยวกับกระเบื้องยาง ดังนี้ครับ

  • กระเบื้องยางปูเพดานและผนังได้ - ใครที่อยากได้บ้านที่คุมโทนเป็นสีเดียวกัน กลัวจะหาวัสดุปูพื้นและผนังที่เหมือนกันไม่ได้ กระเบื้องยางช่วยตอบโจทย์ข้อนี้ได้ครับ เพราะกระเบื้องยางสามารถติดได้ทั้งผนังและเพดานได้เลย โดยวิธีติดใช้วิธีเดียวกันกับการปูพื้นเลย หรือใครอยากลองนำกระเบื้องยางไปมิกซ์แอนด์แมทช์ ก็สามารถทำได้ลองดู ทริคการเลือกกระเบื้องลายสวย ๆ ได้เลยครับ 
  • กระเบื้องยาง ปูทับกระเบื้องเดิมได้ - ข้อนี้เป็นไฮไลท์สำคัญของกระเบื้องยางเลยทีเดียว ใครที่อยากปรับปรุงบ้านแต่ไม่อยากรื้อกระเบื้องเดิมออก สามารถใช้กระเบื้องยางปูทับได้เลย เพียงแค่ทำความสะอาดพื้นผิวเดิมให้เรียบร้อยก็สามารถปูกระเบื้องยางทับลงไปได้เลย
  • ติดตั้งง่าย - กระเบื้องยางถูกออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่าย ๆ ไม่ต้องฉาบปูนเหมือนกระเบื้องทั่วไป เพียงแค่เคลียร์พื้นผิวให้เรียบ จากนั้นลอกกาวออกและติดลงไปได้เลย แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีการติดตั้งให้ดีก่อน หากใครไม่มั่นใจสามารถจ้างช่างได้ ค่าจ้างอาจถูกกว่าการปูพื้นแบบทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
  • อายุการใช้งานนาน - โดยเฉลี่ย อายุการใช้งานของกระเบื้องยางจะอยู่ที่ 10-15 ปีเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการเคลือบของชั้นผิวก็มีผลต่ออายุการใช้งานด้วย
วิธีดูแลรักษาหลังติดตั้งกระเบื้องยาง

วิธีดูแลรักษาหลังติดตั้งกระเบื้องยาง

เมื่อพูดถึงอายุการใช้งานของกระเบื้องยางแล้วนั้น แม้ว่ากระเบื้องยางจะมีความทนทานสูง แต่วิธีการดูแลรักษาก็สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อให้กระเบื้องยางของเราคงทน สวยงาม ดูใหม่เหมือนวันแรกที่ติด ควรดูแลรักษา ดังนี้

การดูแลหลังปูกระเบื้องยางเสร็จ - ไม่ควรทำความสะอาดโดยทันที จะต้องรอให้กาวแห้งสนิทก่อน อาจทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงเพื่อความชัวร์จากนั้นค่อยเริ่มทำความสะอาดได้

การดูแลทำความสะอาดกระเบื้องยาง - การทำความสะอาดควรกวาดด้วยขนนุ่ม ๆ เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน และใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดหมาด ๆ เช็ดพื้นให้สะอาด เพื่อขจัดฝุ่นและให้พื้นกระเบื้องดูสวยเงางามอยู่เสมอ

การดูแลพื้นผิวของกระเบื้องยางให้คงทนอยู่เสมอ - กระเบื้องยางไม่เหมาะกับการขัดถูแรง ๆ เนื่องจากอาจทำให้ผิวเคลือบชั้นบนสุดเสื่อมสภาพได้ ดังนั้นเมื่อมีคราบสกปรก ให้รีบเช็ดออกทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานจนเกิดคราบฝังลึก

การดูแลให้พื้นผิวของกระเบื้องเรียบเนียน - ควรหาแผ่นรองเฟอร์นิเจอร์ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักมาก ๆ เช่นขาโต๊ะ ขาตู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยบุ๋มหรือร่องรอยการกดทับบนกระเบื้องยางที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากนำเฟอร์นิเจอร์ออก

นับว่ากระเบื้องยาง คือ ทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับงานกระเบื้องในยุคนี้เลยก็ว่าได้ ทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ ลวดลายและราคา ตอบโจทย์ความต้องการหลาย ๆ คนได้เป็นอย่างดี 

สำหรับใครที่มองหากระเบื้องยางคุณภาพดี หรือ สนใจกระเบื้องปูพื้นแบบอื่น ๆ สอบถาม A-Decor ได้เลยครับ เรามีทั้งกระเบื้องยาง กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องลายไม้ และอีกมากมาย พร้อมบริการแบบ One stop service ศูนย์รวมกระเบื้องทุกแบบ ทุกลาย พร้อม ให้คำปรึกษา และติดต่อช่างติดตั้ง ที่เดียวครบ จบเรื่องงานกระเบื้อง นึกถึงกระเบื้อง นึกถึง A-decor

Want more information?

Please leave us a message or chat with us via Line

<script type="application/ld+json">

{

  "@context": "https://schema.org",

  "@type": "FAQPage",

  "mainEntity": {

    "@type": "Question",

    "name": "กระเบื้องยางคืออะไร",

    "acceptedAnswer": {

      "@type": "Answer",

      "text": "กระเบื้องยาง คือ วัสดุปูพื้นที่ผลิตจาก PVC (Poly Vinyl Chloride) เป็นโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการปูพื้นโดยเฉพาะ  คุณสมบัติโดดเด่นของ กระเบื้องยาง คือ มีความยืดหยุ่นสูง เนื้อวัสดุมีความเหนียว สามารถรองรับแรงกดทับหรือแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้กระเบื้องยางยังสามารถลดอุบัติเหตุจากการลื่นได้อีกด้วย เนื่องจากพื้นผิวจะมีความหนืด ทำให้ยึดเกาะได้ดี อีกทั้งยังทนต่อความชื้น ทนน้ำ ทำความสะอาดง่าย และทนต่อรอยขีดข่วนได้

จุดเด่นอีกข้อหนึ่งของกระเบื้องยาง คือ มีสีสันและลวดลายให้เลือกมากมาย ทั้งกระเบื้องสีเรียบ สีพื้น สีแฟนตาซี ลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ลายหิน ลายไม้ เป็นต้น มีขนาดให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ กระเบื้องลายไม้  โดยที่นิยมใช้จะมีขนาด 30x30 cm.,  60x60 cm., 15x60 cm., 15x90 cm.  ซึ่งความหนาก็มีตั้งแต่ 2-12 มม."

    }

  }

}

</script>